ITA2020
![]() |
|
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส | สายด่วน Line @ITAS ปปช. |
วิธีการตอบแบบสำรวจ
หน่วยงานดำเนินการตามแบบ OIT โดยการ copy link ที่อยู่ของข้อมูล (URL) ที่หน่วยงานได้เผยแพร่ข้อมูลตัวชี้วัดที่ ๙ - ๑๐ บนเว็บไซต์ของหน่วยงานลงในแบบ OIT และจัดส่งแบบ OIT ในรูปแบบไฟล์ไปยังศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ทาง E-mail: acc.moe.go.th@gmail.com
/ o ที่อยู่ไปรษณีย์...
|
ตัวชี้วัดที่ ๙ การเปิดเผยข้อมูล จำนวน ๒๙ ข้อ
ข้อ | ข้อมูล | องค์ประกอบด้านข้อมูล | ที่อยู่ข้อมูล (URL) |
---|---|---|---|
๑ | โครงสร้าง | o แสดงแผนผังแสดงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของหน่วยงาน
o ประกอบด้วยตำแหน่งที่สำคัญ และการแบ่งส่วนงานภายใน
เช่น ฝ่ายบริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ เป็นต้น |
http://www. Lic.ac.th/lic |
๒ | ข้อมูลผู้บริหาร | o แสดงรายนามของผู้บริหารของหน่วยงาน (คนปัจจุบัน) o ประกอบด้วยชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง รูปถ่าย ช่องทางการติดต่อ ผู้บริหารสูงสุดหรือหัวหน้าหน่วยงาน และผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารของหน่วยงาน ข้อสังเกต - รูปถ่ายของผู้บริหารควรเป็นรูปถ่ายสีและอาจมีประวัติของผู้บริหารด้วย - หากตำแหน่งว่าง ณ ปัจจุบัน ขอให้ระบุไว้ด้วยว่า “ตำแหน่งว่าง” |
|
๓ | อำนาจหน้าที่ | o แสดงข้อมูลหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด ข้อสังเกต - เปลี่ยนหัวข้อที่ปรากฏบนเว็บไซต์จากเดิม “อำนาจและหน้าที่” เป็น “หน้าที่และอำนาจ” - ควรสรุปหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานไว้ด้วย |
|
๔ | แผนยุทธศาสตร์หรือ แผนพัฒนาหน่วยงาน | o แสดงแผนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานที่มีระยะมากกว่า ๑ ปี o มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ เช่น ยุทธศาสตร์หรือแนวทาง เป้าหมาย ตัวชี้วัด เป็นต้น o เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (แผนการดำเนินภารกิจ หมายถึง แผนยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาการศึกษาของหน่วยงาน) ข้อสังเกต - ควรแสดงข้อมูลในปีที่ผ่านมาไว้ด้วย - ควรแสดงข้อมูลแผนระยะสั้น หรือแผนระยะกลางเป็นอย่างน้อย |
|
๕ | ข้อมูลการติดต่อ |
แสดงข้อมูลการติดต่อ ดังนี้ o ที่อยู่หน่วยงาน o หมายเลขโทรศัพท์ o หมายเลขโทรสาร o ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ o แผนที่ตั้งหน่วยงาน ข้อสังเกต - ต้องมีข้อมูลทั้ง ๕ หัวข้อ เปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน - อาจเพิ่มแผนที่ Google Map |
|
๖ | กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง |
o แสดงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ข้อสังเกต - อาจทำเป็นแบนเนอร์บนหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน - ควรจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้ชัดเจน |
|
๗ | ข่าวประชาสัมพันธ์ |
o แสดงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามอำนาจ หน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงาน o เป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ควรทำเป็นแบนเนอร์ ตัววิ่งหรือตัวกระพริบให้สะดุดตา บนหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน - ควรจัดหมวดหมู่ของข่าวให้ชัดเจน - แสดงข่าวให้เป็นปัจจุบัน |
|
๘ | Q&A |
o แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ และหน่วยงานสามารถสื่อสารให้คำตอบกับผู้สอบถามได้ โดยมีลักษณะ เป็นการสื่อสารได้สองทาง เช่น Web broad, กล่องข้อความถาม - ตอบ เป็นต้น o สามารถเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน ข้อสังเกต - ต้องแสดงให้เห็นว่ามีการถาม - ตอบที่เป็นการโต้ตอบกัน (Two – way communication) ใน Web broad หรือกล่องข้อความ - ควรมีคำอธิบายข้อกำหนดเบื้องต้นในการใช้ Web broad บนเว็บไซต์ |
|
๙ | Social Network |
o แสดงเครือข่ายสังคมออนไลน์ของหน่วยงาน เช่น Facebook, Twitter, Instagram เป็นต้น o สามารถเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน ข้อสังเกต - ควรมีแบนเนอร์แสดงอยู่ในหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน |
|
๑๐ | แผนดำเนินงานประจำปี |
o แสดงแผนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานที่มีระยะ ๑ ปี (แผนการดำเนินภารกิจ หมายถึง แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓) o มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ เช่น โครงการหรือกิจกรรม งบประมาณที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ เป็นต้น o เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ควรแสดงแผนปฏิบัติราชการประจำปีของปีที่ผ่าน ๆ มาด้วย |
|
๑๑ | รายงาน การกำกับติดตาม การดำเนินงานประจำปี รอบ ๖ เดือน |
o แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (ตาม “แบบ สงป. ๓๐๑”, “แบบ สงป. ๓๐๒” และ “แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ”) o มีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า เช่น ความก้าวหน้า การดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ ดำเนินงาน เป็นต้น o เป็นข้อมูลในระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ |
|
๑๒ | รายงานผล การดำเนินงานประจำปี |
o แสดงผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ o มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดำเนินงาน เช่น ผลการดำเนินการ โครงการหรือกิจกรรม ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เป็นต้น o เป็นรายงานผลของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ |
|
๑๓ | คู่มือหรือมาตรฐาน การปฏิบัติงาน |
o แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน o มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน เช่น เป็นคู่มือปฏิบัติภารกิจใดสำหรับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานตำแหน่งใด กำหนดวิธีการขั้นตอน การปฏิบัติอย่างไร เป็นต้น ข้อสังเกต - คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายรวมถึง คู่มือเฉพาะของหน่วยงานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติงานจริง - คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ไม่หมายรวมถึงมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของ ก.พ. และคำสั่งแบ่งงานภายในหน่วยงาน |
|
๑๔ | แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี |
o แสดงแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานที่มีระยะ ๑ ปี (แสดงแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายโครงการ/กิจกรรม เป็นรายไตรมาส) o มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ เช่น งบประมาณตามแหล่งที่ได้รับ การจัดสรรงบประมาณตามประเภทรายการใช้จ่าย เป็นต้น o เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ในการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะควรแสดงในรูปแบบไฟล์ PDF ที่แปลงมาจากไฟล์ word หรือไฟล์ excel ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ไฟล์ PDF ที่สแกนมาจากเอกสาร - ตัวอย่าง “แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี” ปรากฏในภาคผนวก |
|
๑๕ | รายงาน การกำกับ ติดตาม การใช้จ่าย งบประมาณประจำปี รอบ ๖ เดือน |
o แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี (ตาม “แบบ สงป. ๓๐๒” และ “แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ”) o มีข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้า เช่น ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น o เป็นข้อมูลในระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ควรแสดงข้อมูลร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เห็นว่า การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเพียงใด |
|
๑๖ | รายงานผล การใช้จ่าย งบประมาณประจำปี |
o แสดงผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ (ตามแบบ สงป. ๓๐๑ และ แบบ สงป. ๓๐๒ ในไตรมาส ๔ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒) o มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณ เช่น ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ ผลสัมฤทธิ์ตาม เป้าหมาย เป็นต้น o เป็นรายงานผลของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ |
|
๑๗ | แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ |
o แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุตามที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ (แผนการจัดซื้อจัดจ้างตามวงเงินงบประมาณ ที่หน่วยงานได้รับการจัดสรร) o เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ |
|
๑๘ | ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับ การจัดซื้อ จัดจ้างหรือ การจัดหาพัสดุ |
o แสดงประกาศตามที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ เช่น ประกาศ เชิญชวน ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น o เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ |
|
๑๙ | สรุปผล การจัดซื้อ จัดจ้างหรือ การจัดหาพัสดุรายเดือน |
o แสดงสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน โดยสรุปผลการจัดซื้อ จัดจ้างตาม “แบบสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน” (แบบ สขร. ๑) o มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น งานที่จัดซื้อหรือจัดจ้าง วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ราคากลาง วิธีการซื้อหรือจ้าง รายชื่อผู้เสนอราคา และราคาที่เสนอ ผู้ได้รับการคัดเลือกและราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง เหตุผลที่คัดเลือกโดยสรุปเลขที่และวันที่ของสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง เป็นต้น o จำแนกข้อมูลเป็นรายเดือน เป็นประจำทุกเดือน (กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนใดให้ระบุว่า “ไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง”) o เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ควรจัดทำข้อมูลทุกรายการที่หน่วยงานได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง - ตัวอย่าง “แบบ สขร. ๑” ปรากฏในภาคผนวก |
|
๒๐ | รายงานผล การจัดซื้อ จัดจ้างหรือ การจัดหาพัสดุประจำปี |
o แสดงผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน ซึ่งเป็นข้อมูลตลอดระยะเวลาของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ o มีข้อมูลรายละเอียด เช่น งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ เป็นต้น o เป็นรายงานผลของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อสังเกต - ตัวอย่าง “รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี” ปรากฏในภาคผนวก |
|
๒๑ | นโยบาย การบริหารทรัพยากรบุคคล |
o แสดงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม o เป็นนโยบายที่ยังใช้บังคับในหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - หน่วยงานสามารถนำนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้นบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ |
|
๒๒ | การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล | o แสดงการดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การวางแผนพัฒนาบุคลากร การสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การประเมินผลการปฏิบัติงาน การส่งเสริมจริยธรรมและรักษาวินัยของบุคลากรในหน่วยงาน เป็นต้น o เป็นการดำเนินการที่มีความสอดรับกับนโยบายการบริหารทรัพยากร บุคคล ตามข้อ ๒๑ หรือเป็นไปตามกิจกรรมที่อยู่ภายใต้นโยบาย การบริหารทรัพยากรบุคคล ตามข้อ ๒๑ o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ควรแสดงให้เห็นถึงการนำนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ไปปฏิบัติ พร้อมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าว |
|
๒๓ | หลักเกณฑ์ การบริหารและพัฒนาทรัพยากร บุคคล |
แสดงหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ o หลักเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร o หลักเกณฑ์การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร o หลักเกณฑ์การพัฒนาบุคลากร o หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร o หลักเกณฑ์การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ o เป็นหลักเกณฑ์ที่ยังใช้บังคับในหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ต้องนำหลักเกณฑ์ครบทั้ง ๕ เรื่อง ขึ้นเปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน |
|
๒๔ | รายงานผล การบริหารและพัฒนาทรัพยากร บุคคลประจำปี |
o แสดงผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล (ข้อ ๒๒) o มีข้อมูลรายละเอียดของการดำเนินการ เช่น ผลการดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ผลการวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นต้น o เป็นรายงานผลของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อสังเกต - หน่วยงานสามารถใช้รายงานฯ ที่จัดส่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ |
|
๒๕ | แนวปฏิบัติ การจัดการ เรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
o แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน o มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน เช่น รายละเอียดวิธีการ ที่บุคคลภายนอกจะทำการร้องเรียน รายละเอียดขั้นตอนหรือวิธีการ ในการจัดการต่อเรื่องร้องเรียน ส่วนงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ เป็นต้น o เป็นข้อมูลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ คำอธิบายเพิ่มเติม เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้บังคับในหน่วยงานครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - เป็นคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยอาจนำมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ มาเป็นส่วนหนึ่งของแนวทาง การดำเนินการของหน่วยงานในการเร่งรัดจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน - การดำเนินงานตามมติของคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒ ปรากฏในภาคผนวก |
|
๒๖ | ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
o แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ การทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานผ่านทางช่องทางออนไลน์ (เป็นช่องทางที่สามารถเข้าไปแจ้งเรื่องร้องเรียนได้โดยตรงผ่านเว็บไซต์หลักของหน่วยงานภายใต้แบนเนอร์ “ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ”) o สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลัก ของหน่วยงาน ข้อสังเกต - ควรแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานมีการนำข้อร้องเรียนผ่านทางช่องทางดังกล่าวไปดำเนินการอย่างไร และมีผลการดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด - หากไม่มีข้อร้องเรียนผ่านช่องทางดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ระบุว่า “ไม่มีเรื่องร้องเรียน” |
|
๒๗ | ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี | o แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน (เป็นสถิติเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจากทุกช่องทาง) o มีข้อมูลความก้าวหน้าของการจัดการเรื่องร้องเรียน เช่น จำนวนเรื่อง เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นต้น (กรณีไม่มีเรื่องร้องเรียนให้ระบุว่า “ไม่มีเรื่องร้องเรียน”) o เป็นข้อมูลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - ควรมีสถิติเรื่องร้องเรียนฯ อย่างต่อเนื่อง ย้อนหลังจนถึงปีที่ประเมิน - กรณีหน่วยงานไม่มีเรื่องร้องเรียนการทุจริต ควรเปิดเผยข้อมูล ด้วยการระบุจำนวน ๐ |
|
๒๘ | ช่องทาง การรับฟัง ความคิดเห็น |
o แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถแสดงความคิดเห็นต่อ การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงานผ่านทางช่องทางออนไลน์ (เป็นช่องทางที่สามารถเข้าไปร้องเรียนได้โดยตรงผ่านทางเว็บไซต์หลักของหน่วยงานภายใต้แบนเนอร์ “ช่องทางการรับฟัง ความคิดเห็น”) o สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงาน ข้อสังเกต - บนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานควรมีปุ่ม เมนู “สร้างความคิดเห็น ” หรือ “กระทู้ใหม่” ให้ชัดเจน และมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามข้อมูลในแต่ละกระทู้อยู่เสมอ - ควรมีการตอบโต้กับผู้แสดงความคิดเห็นว่า หน่วยงานได้รับข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นแล้ว |
|
๒๙ | การเปิดโอกาสให้เกิด การมีส่วนร่วม |
o แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน เช่น ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือ ร่วมติดตามประเมินผล เป็นต้น o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - อาจแสดงเป็นภาพกิจกรรมของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงาน - ควรมีการกำหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนในคู่มือหรือหนังสือ หรือประกาศว่าเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานอย่างไร - การมีส่วนร่วมอันเนื่องจากมีกฎหมายบังคับให้ปฏิบัติ ไม่เข้าข่ายเจตนารมณ์ของข้อคำถามนี้ เช่น การประชาพิจารณ์กฎหมาย |
ตัวชี้วัดที่ ๑๐ การป้องกันการทุจริต จำนวน ๑๐ ข้อ
ข้อ | ข้อมูล | องค์ประกอบด้านข้อมูล | ที่อยู่ข้อมูล (URL) |
---|---|---|---|
๓๐ | เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร |
o แสดงเนื้อหาเจตนารมณ์หรือคำมั่นว่าจะปฏิบัติหน้าที่และบริหารหน่วยงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล o ดำเนินการโดยผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบันของหน่วยงาน คำอธิบายเพิ่มเติม ควรมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดทำ เป็นวีดีโอ ภาพข่าว ประกอบ ฯลฯ ข้อสังเกต - หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสูงสุดในช่วงระยะเวลาการประเมินฯ หน่วยงานจะต้องจัดทำประกาศเจตนารมณ์ฯ ฉบับใหม่ของผู้บริหารสูงสุด คนปัจจุบันของหน่วยงาน |
|
๓๑ | การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร |
o แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบัน o เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมหน่วยงานด้านคุณธรรมและโปร่งใส o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - การมีส่วนร่วมของผู้บริหารตามประเด็นนี้ อาจหมายรวมถึง วาระการประชุม ที่ผู้บริหารสูงสุดได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน |
|
๓๒ | การประเมิน ความเสี่ยง การทุจริตประจำปี |
o แสดงผลการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตหรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมของหน่วยงาน o มีข้อมูลรายละเอียดของผลการประเมิน เช่น เหตุการณ์ความเสี่ยง และระดับของความเสี่ยง มาตรการและการดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยง o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - หน่วยงานสามารถนำ “แผนบริหารความเสี่ยงการทุจริต สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓” ขึ้นเปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ |
|
๓๓ | การดำเนินการ เพื่อจัดการความเสี่ยง การทุจริต |
o แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการจัดการความเสี่ยง ในกรณีที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตหรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมของหน่วยงาน o เป็นกิจกรรมหรือการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรการหรือ การดำเนินการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงตามข้อ ๓๒ o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - หน่วยงานสามารถนำข้อมูลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตของหน่วยงานตามที่ได้รายงานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตาม “แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริต สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓” ขึ้นเปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ |
|
๓๔ | การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร | o แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานมีทัศนคติและค่านิยมในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต อย่างชัดเจน o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร อาจหมายรวมถึง กิจกรรมเกี่ยวกับ การส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) เป็นต้น |
|
๓๕ | แผนปฏิบัติการป้องกัน การทุจริต |
o แสดงแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทุจริตหรือพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ o มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ เช่น โครงการ กิจกรรม งบประมาณ ช่วงเวลาดำเนินการ เป็นต้น o เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - หน่วยงานสามารถนำ “แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓” ที่ปรากฏข้อมูลโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานขึ้นเปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ |
|
๓๖ | รายงาน การกำกับ ติดตาม การดำเนินการ ป้องกัน การทุจริต ประจำปี รอบ ๖ เดือน |
o แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกัน การทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (รอบ ๖ เดือน) o มีข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้า เช่น ความก้าวหน้าการดำเนินการ แต่ละโครงการ/กิจกรรม รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงาน เป็นต้น o เป็นข้อมูลในระยะเวลา ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อสังเกต - หน่วยงานสามารถนำข้อมูลผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตของหน่วยงาน รอบ ๖ เดือน ตามที่ได้รายงานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการตาม “แบบการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓” ขึ้นเปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ |
|
๓๗ | รายงานผล การดำเนินการป้องกัน การทุจริตประจำปี |
o แสดงผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ o มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดำเนินการ เช่น ผลการดำเนินการ โครงการหรือกิจกรรม ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เป็นต้น o ใช้รายงานผลของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ คำอธิบายเพิ่มเติม - หน่วยงานสามารถนำข้อมูลผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่ได้รายงานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการตาม “แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตของสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒” ขึ้นเปิดเผยบนเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ |
|
๓๘ | มาตรการส่งเสริม คุณธรรม และ ความโปร่งใสภายในหน่วยงาน |
o แสดงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ o มีข้อมูลรายละเอียดการวิเคราะห์ เช่น ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น แนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงาน เป็นต้น o มีมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานให้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามผลการวิเคราะห์ฯ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติการกำหนดแนวทางการกำกับติดตามให้นำไปสู่ การปฏิบัติและการรายงานผล เป็นต้น ข้อสังเกต - กรณีที่หน่วยงานไม่มีผลการประเมิน ITA ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้จัดทำเป็นมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและ ความโปร่งใสภายในหน่วยงาน |
|
๓๙ | การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรม และความโปร่งใสภายในหน่วยงาน | o แสดงผลการดำเนินการตามมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและ ความโปร่งใสภายในหน่วยงาน o มีข้อมูลรายละเอียดการนำมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและ ความโปร่งใสภายในหน่วยงานในข้อ ๓๘ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม o เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ |